Open GPS Tracking System
Abzolute Logistic Solution
Abzolute Tracking API
Tracking on Pocket PC
Video Presentation

Abzolute Logistic Solution

 

 

 

Download Presentation

ระบบการบริหารจัดการ Logistic ที่ผสมผสานระบบ GPS Tracking System เข้ากับ Logistic Management เหมาะสมกับธุรกิจในลักษณะ SME มุ่งเน้นการตอบโจทย์ ทางธุรกิจ โดยมีกลไกที่ไม่ซับซ้อน มีต้นทุนที่ไม่สูงมากจนเกินไป และสามารถประยุกต์ได้หลากหลายธุรกิจ

Key Features

 

ตอบโจทย์หลักๆ 4 ประการคือ

  • ควบคุมการทำงานประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • รู้สถานะปัจจุบัน สามารถตัดสินใจสั่งการได้อย่างรวดเร็ว
  • การเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบหลักของบริษัท
  • จัดเตรียมข้อมูลเชิงสถิติย้อนหลัง หรือข้อมูลจำเป็นต่างๆ ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในด้านต่างๆ

 

ควบคุมการทำงานประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ครอบคลุมการทำงานประจำวันของพนักงาน Logistic เช่น การกรอกรายละเอียด Delivery order หรือ คำสั่งการส่งของให้กับลูกค้า หรือส่งไปยัง Site หรือ Warehouse ต่างๆ ทั้งของบริษัทเองในจังหวัดต่างๆ พร้อมกับระบุ รายการสินค้าทั้งหมดพร้อมกับจำนวนที่ต้องการให้ขนส่ง ไปยังเป้าหมายแต่ละที่

 

 

การออก Job Order ซึ่งกำหนดว่า จะให้รถคันไหนรับหน้าที่ส่งของในแต่ละ Order ทั้งนี้ รถแต่ละคันอาจไปส่งของหลายจุดพร้อมๆ กัน ดังนั้น Delivery Order ของรถแต่ละคันจะถูกรวบรวม ออกเป็น Job Order ซึ่งจะระบุว่ารถคันดังกล่าวจะต้องไปส่งของที่ไหนบ้าง ตามลำดับ โดยระบบจะจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ให้เพื่อใช้ในการตัดสินใจ

  • ตำแหน่งปัจจุบันของรถแต่ละคัน
  • รถคันใดบ้างที่อยู่จอดรออยู่ สามารถที่จะใช้งานได้เลย
  • รถคันใดบ้างที่กำลังจะเข้า และอยู่ห่างออกไปกี่ กิโลเมตร
  • หลังจากเข้าแล้ว รถแต่ละคันมี order ค้างอยู่กี่รายการ มีของอะไรบ้างบนรถ ซึ่งจะสามารถประมาณการคร่าวๆ ได้ว่าสามารถที่จะรับ Order เพิ่มได้อีกเท่าไหร่
  • ประวัติการทำงานของรถแต่ละคัน การกระจาย work load ช่วงเวลาพัก

 

การขนของขึ้นรถและลงรถ โดยยึดตาม Delivery order ซึ่งพิมพ์ออกจากระบบ และการให้ลูกค้าเซ็นยืนยันเพื่อ เก็บหลักฐานการส่งของ และการถ่ายโอน Inventory ในกรณีที่เป็นการขนย้ายระหว่าง Distribution Center และ Warehouse ย่อยของบริษัทตามพื้นที่ต่างๆ

 

 

กระบวนการต่างๆ ดำเนินไปอย่างเป็นระบบ ตรวจสอบได้ ลดความผิดพลาด และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน การเชื่อมต่อกันของข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การจัดเตรียมของ การเบิกของออกจากคลัง การลำเลียงขึ้นรถ ไปจนถึงมือลูกค้า เป็นหัวใจหลักอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ

 

รู้สถานะปัจจุบัน สามารถตัดสินใจสั่งการได้อย่างรวดเร็ว

 

ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน เช่นกรณีที่รถเกิดอุบัติเหตุ หรือมี Order ด่วนที่จำเป็นจะต้องส่ง ผู้ที่บริหารจัดการงาน Logistic ควรที่จะสามารถปรับเปลี่ยนแผนดำเนินการได้อย่างทันท่วงที ตำแหน่งปัจจุบันของรถ เป็นข้อมูลอย่างหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะแม้ว่าจะมีการวางแผนไว้แล้วเป็นอย่างดี ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแผนที่วางไว้ 100% อันสืบเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยต่างๆ เช่น จากการจราจร อุบัติเหตุ ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ และเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการทำงาน

 

การผสานระบบ GPS Tracking System เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Logistic Management System ทำให้ผู้ที่บริหารจัดการงานด้าน Logistic ทราบสถานะและตำแหน่งปัจจุบัน ที่ถูกต้องตลอดเวลา และทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถคาดเดาเหตุที่ไม่คาดคิดล่วงหน้า ทำให้เกิดการแก้ไขอย่างทันท่วงทีก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นจริง

 

 

  • ผู้ที่วางแผนงาน Delivery controller / Job controller สามารถเห็นตำแหน่งของรถแต่ละคันบนแผนที่ ซึ่งจะทำให้ทราบล่วงหน้าว่า Job ใดที่มีแนวโน้มที่จะล่าช้า และควรจะต้องมีการปรับแผนดำเนินการหรือไม่
  • ผู้ที่ประจำ Warehouse / Distribution center สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าว่ารถแต่ละคันจะเข้ามาถึงเวลาใดจากระยะทางของรถที่แสดงบนแผนที่ และสามารถดูใบ Delivery Order ในระบบ ทำให้สามารถเตรียมการล่วงหน้าก่อนของเข้า และสามารถลดเวลาที่ใช้ในการขนถ่ายลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบหลักของบริษัท

 

สามารถส่งผ่านข้อมูล หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบต่างๆ ได้ ข้อมูลหลักๆ เช่นระบบ Inventory, ระบบ ERP, ระบบบัญชี, ระบบ CRM เป็นต้น

 

 

จัดเตรียมข้อมูลเชิงสถิติย้อนหลัง หรือข้อมูลจำเป็นต่างๆ ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในด้านต่างๆ

 

ข้อมูลสถิติต่างๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ข้อมูลที่มีความชัดเจนและครบถ้วน สามารถนำมาซึ่งข้อสรุปได้ ว่าการบวนการทำงานปัจจุบันมีปัญหาอย่างไร มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร และจุดใดเป็นจุดอ่อนที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จุดใดที่ดีอยู่แล้วแต่ยังสามารถทำให้ดีขึ้นอีกได้ เพื่อพัฒนาเป็นจุดแข็งเหนือคู่แข่งอย่างยั่งยืน

 

ข้อมูลสถิติต่างๆ ที่จำเป็นในงานบริหาร Logistic มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลเกี่ยวกับ Throughput ของแต่ละ Warehouse หรือ Distribution center เช่น จำนวนรถเข้าออกเฉลี่ยในแต่ละวัน จำนวนเที่ยวรถที่ขนของออก / เข้า ความหนาแน่นในแต่ละช่วงเวลา ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารจัดการ Human resource ให้สอดคล้องกับปริมาณงาน การจัดแบ่งผลัดการทำงาน และจำนวนคนที่จะต้องจ้างในแต่ละผลัด
  • ข้อมูลเกี่ยวกับพฤฒิกรรมของพนักงานขับรถ เช่น ประวัติการใช้ความเร็ว ประวัติการออกนอกพื้นที่ ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ



  • ข้อมูลประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคน จำนวนเที่ยวต่อวัน จำนวนเที่ยวรวมต่อเดือน ระยะทางเฉลี่ยนต่อวันใน 1 เดือน ระยะทางสะสมแต่ละเดือน ทั้งนี้อาจใช้ข้อมูลดังกล่าวในการจูงใจพนักงานเช่น เป็นมาตรฐานในการจ่าย commission หากปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น



  • เปรียบเทียบเส้นทาง ระยะทาง และเวลาที่ใช้ของพนักงานแต่ละคน เส้นทางใดมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบ เช่นบางเส้นทางสั้นกว่า แต่ถนนเลนเดียวทำให้ใช้เวลามากกว่าเนื่องจากแซงได้ยาก ข้อมูลจะช่วยชี้วัดได้ว่าทางเลือกใดมีความเหมาะสมมากที่สุด



    ตัวอย่างรายงานแสดงเส้นทางในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถเปรียบเทียบเส้นทางที่พนักงานแต่ละคนใช้ เพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละเส้นทาง



    ตัวอย่างการแสดงสถิติการเดินทางไปยัง Site ต่างๆ ในแต่ละวัน

 

 

   © 2011 Abzolute Techno One Co.,Ltd. All rights reserved.